วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โรคในฤดูฝน

โรคในฤดูฝน

กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศเตือนประชาชนให้ระมัด ระวังโรคติดต่อที่มาพร้อมฝนที่สำคัญ 14 โรค เช่น โรค ท้องร่วง โรคฉี่หนู ปอดบวม ไข้ เลือดออก การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในฤดูกาลนี้เป็นสาเหตุทำ ให้เกิดโรคหลายชนิด สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็วที่สำคัญ เช่น โรค ไข้เลือดออก โรคฉี่หนู โรคไข้หวัดใหญ่ ไข้ มาลาเรีย โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคบิด โรค ไข้สมองอักเสบเจอี โรคเยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดง โรค ปอดอักเสบ และโรคไข้หวัดนกกระทรวงสาธารณสุข
      โดยกรม ควบคุมโรคได้ออกประกาศเตือนประชาชนในการป้องกันโรคติดต่อที่มักเกิดขึ้นใน ฤดูฝน จัดส่งให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ประชา สัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนในการป้องกัน โดยมี 5 กลุ่ม รวม 14 โรค ได้แก่
    1. กลุ่ม โรคติดต่อของระบบทางเดินอาหาร ที่พบบ่อย ได้แก่ โรค อุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคบิด ไทฟอยด์ อาหาร เป็นพิษ ตับอักเสบ สาเหตุเกิดจากกินอาหารดื่มน้ำ ที่ปนเปื้อนเชื้อโรคหรือกินอาหารสุกๆ ดิบๆ
  2. กลุ่ม โรคติดเชื้อผ่านทางบาดแผลหรือเยื่อบุผิวหนัง ที่พบบ่อยคือ โรค เลปโตสไปโรซิส หรือโรคไข้ฉี่หนู อาการเด่นคือ ไข้ สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ มักปวดกล้ามเนื้อที่ บริเวณน่องและโคนขาอย่างรุนแรง และตาแดง
  3. กลุ่ม โรคระบบทางเดินหายใจ ที่พบบ่อย ได้แก่ โรค หวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลม อักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม อาการจะเริ่มจากไข้ ไอ หายใจ เร็วหรือหอบเหนื่อย
   4. กลุ่มโรคติดต่อ ที่เกิดจากยุง ได้แก่ โรคไข้เลือดออก มี ยุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งกว่าร้อยละ 80 เป็นยุง ลายที่อยู่ในบ้าน โรคไข้สมองอักเสบเจอี (Japanese Encephalitis) ซึ่ง มียุงรำคาญ มักแพร่พันธุ์ในแหล่งน้ำตามทุ่งนาเป็นตัวนำโรค ทั้ง 2 โรค นี้อาการจะเริ่มจากมีไข้สูง ปวดศีรษะมาก คลื่น ไส้อาเจียน โดยโรคไข้สมองอักเสบนี้อาจทำให้พิการภายหลังได้ 
  5. โรค เยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดง ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ใน น้ำสกปรกกระเด็นเข้าตา
  นอกจากนี้ในช่วงหน้าฝน ยังต้องระวังอีก 2 เรื่อง คือ ปัญหา น้ำกัดเท้าที่เกิดจากเชื้อรา สาเหตุเกิดจากการแช่น้ำสกปรกนานๆ ทำ ให้ผิวหนังเป็นผื่นแดง ถ้าเกาจะเป็นแผลมีน้ำเหลืองออกและ อันตรายจากสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ แมลง ป่อง อาจหนีน้ำมาหลบอาศัยในบริเวณบ้านได้
       การ ป้องกันโรคในฤดูฝน สวมเสื้อผ้ารักษาร่างกายให้อบอุ่นเพื่อให้ ร่างกายมีภูมิต้านทานโรค  โดยเฉพาะเด็กกับผู้สูง อายุควรดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากสภาพอากาศมีความชื้นสูง หนาว เย็น จะทำให้ร่างกายที่มีระดับภูมิต้านทานโรคต่ำกว่าคนวัย อื่นๆ อยู่แล้วต่ำลงไปอีก จึงมีโอกาสติดเชื้อโรค ทางเดินหายใจได้ง่าย ควรดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำ ต้ม รับประทานอาหารที่สะอาดปรุงสุกใหม่ๆ ไม่มี แมลงวันตอมและล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง ถ่าย อุจจาระลงส้วม
  ควรตรวจดูโอ่งน้ำหรือ ภาชนะเก็บน้ำอื่นให้มีฝาปิดมิดชิดและเปลี่ยนน้ำจานรองขาตู้ แจกันไม้ประดับ ทุก 7 วัน ปล่อยปลาหางนกยูงในอ่างบัว ทำลาย แหล่งที่มีน้ำขัง เช่น กะลา กระป๋อง ยาง รถยนต์เก่า เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย หลัง เดินย่ำน้ำลุยน้ำแช่ขังหรือน้ำสกปรกต้องล้างเท้าให้สะอาดทุกครั้ง แล้ว เช็ดให้แห้งด้วยผ้าที่สะอาด อย่าปล่อยให้อับชื้นเป็นเวลานาน แนะ นำให้ใช้เครื่องป้องกันให้เป็นนิสัย เช่น ใส่รอง เท้าบู๊ท  หลีกเลี่ยงการสัมผัสพื้นที่ชื้นแฉะที่มีการเลี้ยง สัตว์และสัมผัสปัสสาวะสัตว์  นอกจากนี้ให้ดูแลความสะอาดบ้านเรือนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ ให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์มีพิษ หรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ แมลงวัน.


แหล่งที่มา  http://region1.prd.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=425:2009-05-15-09-10-41&catid=44:2009-03-07-11-15-01&Itemid=98 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น